เกี่ยวกับเรา

Written by Super User. Posted in เกี่ยวกับเรา

ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

 

ชื่อสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสามโคก

ที่อยู่ : 99/44 หมู่ 3 ตำบลกระแชง อำเภอ/เขต : สามโคก

จังหวัด : ปทุมธานี

เบอร์โทรศัพท์ : 02-5934504 .เบอร์โทรสาร : 02-5934504

E-mail ติดต่อ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สังกัด : สำนักงาน กศน.ปทุมธานี

ประวัติอำเภอสามโคก

                  อำเภอสามโคกเดิมเป็น “เมืองสามโคก” เพราะมีโคกโบราณอยู่ในเมือง ๓ แห่ง เมืองสามโคกเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน ปรากฏหลักฐานเมื่อหลังแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตั้งดั้งเดิมของเมืองสามโคกอยู่ที่บริเวณวัดพญาเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง อยู่ใกล้ๆ กับวัดป่างิ้ว) ครั้งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ ๑ ในปีพุทธศักราช ๒๑๑๒ เมืองนี้ได้ร้างไปจนถึงพุทธศักราช ๒๒๐๓ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมิงเปอกับพรรคพวกมอญด้วยกัน ๑๑ คน  ได้พาครอบครัวมอญประมาณหนึ่งหมื่นคน อพยพหนีการกดขี่ของพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ "บ้านสามโคก" ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (บริเวณระหว่างวัดตำหนักกับวัดสะแก) ชุมชนมอญได้ขยายตัวเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จึงได้ตั้งเป็นเมืองขึ้นมาในบริเวณใกล้กับวัดสิงห์ และใช้ชื่อว่า "เมืองสามโคก" การอพยพของชาวมอญที่ได้เข้ามาขอพึ่งพระบรม  โพธิสมภาร หลังจากสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ได้มีการอพยพครั้งสำคัญอีกสองครั้ง คือ ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๗ ซึ่งตรงกับแผ่นดินของพระเจ้าตากสินมหาราช โดยมีพญาเจ่ง – ตะละเส่ง กับพระยา กลางเมืองเป็นหัวหน้า และในปีพุทธศักราช ๒๓๕๘ ซึ่งตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์  โดยมีสมิงรามัญเมืองเมาะตะมะ เป็นหัวหน้า ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญที่อพยพมาทั้งสองครั้งนี้ ส่วนหนึ่งไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสามโคก และอีกส่วนหนึ่งให้ไปตั้งบ้านเรือน อยู่ที่ปากเกร็ด เมืองนนทบุรี และนครเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน ปรากฏหลักฐานว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรมหาเสนารักษ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรม  ณ  ที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเยื้องเมืองสามโคก (บริเวณ วัดปทุมทองปัจจุบัน) ทรงรับดอกบัวหลวงจากชาวมอญที่นำมาทูลเกล้าฯ ถวายอย่างมากมาย และประกอบกับในครั้งนั้น เดือน ๑๑ เป็นฤดูน้ำหลาก ดอกบัวบานสะพรั่งอยู่ทั่วไป ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองสามโคกใหม่เพื่อให้เป็นสิริมงคลว่า "เมืองปทุมธานี " โดยเหตุที่มีดอกบัวอยู่ทั่วไปซึ่งมีหลักฐานดังนิราศสุนทรภู่ กล่าวถึงไว้ตอนหนึ่งว่า 

                   

“...ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า             พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี

                    ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี             ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว..”

                    จากนั้นได้ยกฐานะขึ้นเป็นหัวเมืองชั้นตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงตั้งเป็นอำเภอสามโคก ตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งในที่แห่งใหม่ที่ปากคลองบางเตยข้างเหนือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๔ นายสุนทร ศรีมาเสริม มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอสามโคก ได้พิจารณาเห็นว่า อาคารที่ว่าการอำเภอสามโคกหลังเก่าเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงสร้าง เมื่อปี  พ.ศ. ๒๔๖๔ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมและตั้งอยู่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สถานที่คับแคบเนื่องจากถูกน้ำเซาะ ตลิ่งพังเหลือที่ดินน้อยมากยากแก่การป้องกัน จึงให้ดำเนินการย้ายไปสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอในที่แห่งใหม่ ซึ่งอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดิน (หมายเลข ๓๑๑๑) ปทุมธานี – สามโคก  เยื้องไปทางทิศใต้ในเขตตำบลบางเตย ในเนื้อที่ ๗ ไร่เศษ ซึ่งนายสำรวย พึ่งประสิทธิ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ อำเภอสามโคก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี มีเนื้อที่ ๑๑๘,๘๓๕ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ  ๕๘,๐๖๑๕ ไร่ ตั้งอยู่ตอนเหนือติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๒กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดปทุมธานี ประมาณ ๖ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่จากทิศเหนือไปทางทิศใต้ แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองฝั่งแม่น้ำ คือ ฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีลำคลองต่างๆ แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาหลายสายแผ่ครอบคลุมพื้นที่ จึงเหมาะแก่การประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม

 

อาณาเขตติดต่อ   

                     ทิศเหนือ          อาณาเขตติดต่อ  อำเภอบางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                     ทิศใต้             อาณาเขตติดต่อ  อำเภอเมืองปทุมธานี  อำเภอลาดหลุมแก้ว  

                     ทิศตะวันออก    อาณาเขตติดต่อ  อำเภอเมืองปทุมธานี  อำเภอคลองหลวง 

                     ทิศตะวันตก      อาณาเขตติดต่อ  อำเภอลาดหลุมแก้ว  จังหวัดปทุมธานี

 

การปกครอง

          แบ่งการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช ๒๕๔๗ ออกเป็น ๑๑ ตำบล  ๕๘ หมู่บ้าน ๒ เทศบาล ๙ องค์การบริหารส่วนตำบล คือ

๑. เทศบาลตำบลบางเตย มี ๘ หมู่บ้าน (หมู่ที่ ๒-๘ อยู่ในเขตเทศบาลและหมู่ที่ ๑,๑๐ อยู่นอกเขตเทศบาลสังกัด อบต.คลองควาย) พื้นที่  ๕,๖๖๘ ตร.กม.                

          ๒.  เทศบาลตำบลสามโคก มี         ๔  หมู่บ้าน                 พื้นที่    ๕,๖๖๐   ตร.กม.          

          ๓.  ตำบลบางโพธิ์เหนือ              มี   ๓  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๑,๓๒๕   ตร.กม.

          ๔.  ตำบลกระแชง                              มี   ๓  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๑,๓๒๕    ตร.กม.

          ๕.  ตำบลคลองควาย                มี   ๘  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๑๖,๔๘๖  ตร.กม.

          ๖.  ตำบลบางกระบือ                มี   ๓  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๕,๐๗๒    ตร.กม.

          ๗.  ตำบลท้ายเกาะ                  มี   ๔  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๗,๖๕๖    ตร.กม.

          ๘.  ตำบลเชียงรากน้อย              มี   ๕  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๑๑,๗๘๖  ตร.กม.

          ๙.  ตำบลเชียงรากใหญ่              มี   ๗  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๑๐,๕๓๓  ตร.กม.

          ๑๐. ตำบลบ้านปทุม                 มี   ๖  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๑๐,๓๐๓  ตร.กม.

          ๑๑. ตำบลบ้านงิ้ว                    มี   ๕  หมู่บ้าน             พื้นที่    ๓,๓๘๗    ตร.กม.

จำนวนประชากร         

                    ประชากร                                       ๖๓,๗๕๑         คน

                    มีประชากรแฝง   ประมาณ                   ๓๐,๐๐๐         คน

จำนวนประชากร ทั้งสิ้น                       ๙๓,๗๕๑         คน

สภาพทางสังคม

                    -ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสามโคก  ๑   แห่ง

                    -โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่  ๑  แยกเป็น

                              -ระดับประถมศึกษา                           ๒๔      โรงเรียน

                              -ระดับมัธยมศึกษา                            ๓        โรงเรียน

-สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน       ๒       โรงเรียน

-สังกัดกรมการศาสนา (แผนกสามัญศึกษา)            ๑       โรงเรียน

-สังกัดสำนักงานอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัยเอกชน)     ๑       แห่ง

-กศน.ตำบล                                              ๑๑      แห่ง

-ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง                          ๕       แห่ง

-ศาสนถาน/วัด                                           ๔๐      แห่ง

                    -โรงพยาบาลสามโคก                                      ๑      แห่ง

                    -กลุ่ม 0T0P ที่ขึ้นทะเบียน                              ๓๕      แห่ง

                    -กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียน                      ๑๕      แห่ง

 

สภาพเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ

ด้านการเกษตร อำเภอสามโคกมีพื้นที่ทางการเกษตร  ๓๑,๕๒๕ ไร่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนี้

 

ตารางที่  3  แสดงการใช้พื้นที่ทางการเกษตรในอำเภอสามโคก

 

ที่

พืชเศรษฐกิจ

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

พืชไร่

ไม้ผล-ไม้ยืนต้น 

พืชผัก

ไม้ดอกไม้ประดับ

พืชสมุนไพร

พืชพลังงาน

เห็ด

อื่นๆ

๒๘,๓๖๑

๒,๑๙๗

๗๗๑

๑๘๕

๑๑

 

รวม

๓๑,๕๓๗    

 

 

ด้านอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการและประกอบการ จำนวน ๑๘๗ แห่ง

                   ด้านพาณิชย์และการตลาด

                    สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊สขนาดใหญ่       จำนวน            ๑๐      แห่ง

                    โรงสีข้าวเอกชน                                          จำนวน              ๑      แห่ง

                    ธนาคาร                                                   จำนวน              ๒      แห่ง

                    สหกรณ์การเกษตรอำเภอสามโคก                     จำนวน              ๑      แห่ง

การคมนาคมขนส่ง

             การคมนาคมในเขตอำเภอสามโคก  มี  ๒    ทาง  คือ ทางบก  และทางน้ำ

             ทางบก ประกอบด้วยทางหลวงแผ่นดิน  ทางหลวงท้องถิ่น   และถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบ

ของกรมชลประทาน  คือ

                    -  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๑         ถนนปทุมธานี - สามโคก

                    -  ทางหลวงชนบท (ทางหลวงจังหวัด)        รวมยาว ๔๕      กิโลเมตร

                    -  ทางหลวงชลประทาน   ๑   สาย            ยาว     ๑๕      กิโลเมตร

                    -  ทางหลวงท้องถิ่น เป็นถนนลูกรังใช้สัญจรไป - มา ระหว่างตำบล หมู่บ้าน

                    -  ถนนวงแหวนรอบนอก (สาย ๓๗) มี ๔ ช่องทางจราจร จากอำเภอบางบัวทองถึงทางต่าง ระดับบางปะอิน (แยกสายเอเชีย) ผ่านท้องที่ตำบลบางเตย ตำบลคลองควาย มีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดกร่าง ตำบลบางกระบือ

             ทางน้ำ อำเภอสามโคก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมืองจากทิศเหนือจรดทิศใต้ และมีลำคลองแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา  ดังนี้

             ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  มี

                    -  คลองแม่น้ำอ้อม                   -  คลองบ้านพร้าว         -  คลองวัดพลับ 

                    -  คลองวัดปทุม                      -  คลองคู                   -  คลองเชียงรากน้อย

                    -  คลองโคกตาเขียว                                     

            ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา  มี

                    -  คลองบางโพธิ์เหนือ              -  คลองบางนา             -  คลองบางเตย                               

                    -  คลองใหญ่                         -  คลองวิ                   -  คลองควาย

                    -  คลองป่าฝ้าย                       -  คลองขนอน              -  คลองสระ     

                    -  คลองวัดแจ้ง                       -  คลองวัดสิงห์             -  คลองวัว       

                    -  คลองบ้านทาส                     -  คลองเกาะปิ้ง            -  คลองยายหอม

                    -  คลองวัดสะแก                     -  คลองมอเตอร์            -  คลองพี่เลี้ยง  

 

ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับที่

ชื่อ/ชื่อสกุล

ตำแหน่ง

ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

๑.

นางนิตยา  สุวรรณรังค์

หัวหน้าศูนย์ฯ

๒๕๓๗- ๒๕๓๙

๒.

นายคมกฤช  จันทร์ขจร

หัวหน้าศูนย์ฯ

๒๕๓๙-๒๕๔๐

๓.

นายวันชัย  จันทร์จำปา

หัวหน้าศูนย์ฯ

๒๕๔๐-๒๕๔๓

๔.

นายกิจจา  ทิพย์เที่ยงแท้

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

๒๕๔๓-๒๕๔๕

๕.

นางสาวประภาภรณ์  ธิติมาพงศ์

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

๒๕๔๕-๒๕๔๘

๖.

นางสาวนงลักษณ์  เดชระพีพงษ์

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

๒๕๔๘-๒๕๕๓

๗.

นางสุทธิรักษ์  พุ่มไสว

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

๒๕๕๓-๒๕๕๘

๘.

นางกัญญา  โมลาศน์

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

๒๕๕๘-ปัจจุบัน

 

 

Print