ประวัติความเป็นมา
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อกระจายการให้บริการทางการศึกษานอกโรงเรียนทุกรูปแบบให้ถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2527 โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี สถานที่ทำการครั้งแรกอาศัยอาคารศาลาจังหวัด (หลังเก่า) และห้องสมุดประชาชนจังหวัดปทุมธานีบางส่วน เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน ในปี พ.ศ. 2529 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานีได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเป็นค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างอาคารอำนวยการ 1 หลัง บ้านพักคนงาน และปรับปรุงบริเวณ ในที่ดินสาธารณะ ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และย้ายมาปฏิบัติงาน ณ ที่ตั้งใหม่ เลขที่ 117 หมู่ที่ 1 ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 โดยมุ่งหวังให้สามารถส่งเสริมสนับสนุนประสานการศึกษานอกโรงเรียนทุกรูปแบบในระดับอำเภอ โดยระดมสรรพกำลัง เพื่อบริการการศึกษาที่หลากหลายให้แก่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง และตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานีมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ 7 แห่ง ดังนี้
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองปทุมธานี
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอคลองหลวง
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอธัญบุรี
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอลาดหลุมแก้ว
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอลำลูกกา
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสามโคก
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองเสือ
ต่อมาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานีได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี” ตามพระราชบัญญัติส่งส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยมีผลบังคับใช้ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551 และมีสถานภาพเป็นหน่วยงานทางการศึกษาว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้ชื่อย่อว่า “สำนักงาน กศน.จังหวัดปทุมธานี” สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานะเป็นหน่วยงานการศึกษามีบทบาทหน้าที่ ภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน บริหารจัดการ และกำกับดูแลสถานศึกษาในสังกัด โดยเปลี่ยนชื่อจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ มีชื่อย่อว่า “กศน.อำเภอ” จำนวน 7 แห่ง ดังนี้
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปทุมธานี
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองหลวง
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอธัญบุรี
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลาดหลุมแก้ว
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลำลูกกา
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสามโคก
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองเสือ
ภายหลังที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ...ในวาระ 2 และ 3 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอแล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 และ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 เผยแพร่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” (มาตรา 6) มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ โดยยกระดับจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
- การเรียนรู้ตลอดชีวิต
- การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง
- การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ
ในส่วนของ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี จึงเปลี่ยนเป็น "สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี" ตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 กำหนดใน (มาตรา 19) ทำหน้าที่เป็น หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด เพื่อกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก และแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ทั้งในด้านวิชาการ เทคโนโลยี ที่จำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ การบริหารงาน และการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมตลอดทั้งการจัดทำแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนการส่งเสริม การเรียนรู้ของกรม บริบทของท้องถิ่นและแผนการศึกษาแห่งชาติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดี มอบหมาย และมีสถานศึกษาในสังกัดตาม (มาตรา 20) จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองปทุมธานี
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอคลองหลวง
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอธัญบุรี
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอลาดหลุมแก้ว
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอลำลูกกา
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสามโคก
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหนองเสือ
นอกจากสถานศึกษาทั้ง 7 แห่ง สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานียังมีห้องสมุดประชาชนในความดูแล ดังนี้
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดปทุมธานี
- ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอธัญบุรี
- ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอลาดหลุมแก้ว
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอคลองหลวง
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอลำลูกกา
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอสามโคก
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองเสือ
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร
1. นายทวีศักดิ์ วิศิษฎางกูร พ.ศ.2527 – พ.ศ.2530
2. นายไพโรจน์ พาเจริญ พ.ศ.2530 – พ.ศ.2533
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี
3. นายอุฤทธิ์ บุญมาก พ.ศ.2533 – พ.ศ.2536
4. นายสาโรจน์ ลิ้มประเสริฐ พ.ศ.2536 – พ.ศ.2539
5. นายยิ่ง กีรติบูรณะ พ.ศ.2539 – พ.ศ.2540
6. นางสาวลัดดาวัลย์ เลิศเพ็ญเมธา พ.ศ.2540 – พ.ศ.2542
7. นายกิตติศักดิ์ รัตนฉายา พ.ศ.2542 – พ.ศ.2545
8. นายธงชัย เจียมพุก พ.ศ.2545 – พ.ศ.2547
9. นายอเนก เอี่ยมตาล พ.ศ.2547 – พ.ศ.2549
10. นายสาโรจน์ ลิ้มประเสริฐ พ.ศ.2549 – พ.ศ.2552
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี
1. นายสาโรจน์ ลิ้มประเสริฐ พ.ศ.2552 – พ.ศ.2555
2. นางสุรางค์ นันทกาวงศ์ พ.ศ.2555 – พ.ศ.2559
3. นางสาวกษมา โรจนนิล พ.ศ.2560 – พ.ศ.2562
4. นางวิบูลผล พร้อมมูล พ.ศ.2562 – พ.ศ.2565
5. นายณัฐพงษ์ ทองหล่อ พ.ศ.2566 - พ.ศ.2566
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี
1. นายณัฐพงษ์ ทองหล่อ พ.ศ.2566 - ปัจจุบัน