วิสัยทัศน์
“สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี สนับสนุน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทักษะในศตวรรษที่ 21”
พันธกิจ
- จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ให้กับผู้เรียนและประชาชนทั่วไปได้รับโอกาสทางการศึกษา ในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ)การศึกษาต่อเนื่อง (การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง) การศึกษาตามอัธยาศัย (การเรียนรู้ตลอดชีวิต) ที่ มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม พร้อมก้าวสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
- พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
- ส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการศึกษา การวัดและประเมินผล ที่หลากหลาย และมาตรฐานสอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้และบริบทของสถานศึกษา
- ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการสนับสนุนจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ
- ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตามความต้องการของประชาชนและชุมชนในรูปแบบที่หลากหลาย
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ให้เป็นระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย เอื้อต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบา
เป้าประสงค์
- ผู้เรียนและประชาชนทั่วไปในจังหวัดปทุมธานี ได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับที่มีคุณภาพ
- บุคลากรทุกประเภททุกระดับได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
- หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ พัฒนาสื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา การวัดและประเมินผลในรูปแบบที่หลากหลาย
- ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัด ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน
- หน่วยงานและสถานศึกษา สามารถนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนและประชาชน พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
- หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
- กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกช่วงวัย
- กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
- กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษ ที่ 21
- กลยุทธ์ที่ 5 ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
- กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล