about us

Print

 

นายณัฐพงษ์ ทองหล่อ

ผู้อำนวยการ

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี

 
 

นายอภิชาติ โชติแสงทอง

รองผู้อำนวยการ

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี

 
 

นางฑัศดาพร ลองชัย

ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

 
 

นางสาวนิสา ที่ดินดำ

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

 

นางสาวศิวิลัย ดวงเงิน

นักวิชาการศึกษา

 

นางสาวเยาวลักษณ์ สิงหโคตร

นักวิชาการศึกษา

นายกันต์ ก้าวพัฒนกิจ

นักจัดการงานทั่วไป

 

นายนันทวัฒน์ พารณอิสรีย์

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

นางสาวอุมารินทร์ รอดสุขโข

นักวิชาการศึกษา

 

นายสรุจภาคย์ เธียรมังคลาสิน

นายสรุจภาคย์ เธียรมังคลาสิน

นักวิชาการศึกษา 

นางสาวศิริลดา โมลาศน์

นักวิชาการพัสดุ

 

นางสาวสุทธิดา สุวรรณโรจน์

นักวิชาการเงินและบัญชี

อาคม อำพันเพ็ญโรจน์

นายอาคม อำพันเพ็ญโรจน์

นักเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

นางสาวมนทิยา รื่นสุข

นางสาวมนทิยา รื่นสุข

นักทรัพยากรบุคคล

 

นางสาววรางคณา ศรีตะโกเศศ

เจ้าพนักงานพัสดุ

 

นายพงษ์นรินทร์ จันทร์เทพ

นักวิชาการตรวจสอบภายใน 

 นางสาวกัญชพร ยิ้มใย

นางสาวกัญชพร ยิ้มใย

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

 

นางสาวนพรัตน์ อินทนิล

เจ้าพนักงานธุรการ

     
     

Print

 

   

 

   
    นายธนากร ดอนเหนือ    
    อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้    
         
   
นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล   ว่าที่ร้อยเอก วิสาร ปัญญชุณห์   นายเอกราช ชวีวัฒน์

 รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 

 

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

 

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

Print

Continue Reading

Print

ประวัติความเป็นมา

       ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อกระจายการให้บริการทางการศึกษานอกโรงเรียนทุกรูปแบบให้ถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่    1 ตุลาคม 2527 โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี สถานที่ทำการครั้งแรกอาศัยอาคารศาลาจังหวัด (หลังเก่า) และห้องสมุดประชาชนจังหวัดปทุมธานีบางส่วน เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน ในปี พ.ศ. 2529 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานีได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเป็นค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างอาคารอำนวยการ 1 หลัง บ้านพักคนงาน และปรับปรุงบริเวณ ในที่ดินสาธารณะ ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และย้ายมาปฏิบัติงาน ณ ที่ตั้งใหม่ เลขที่ 117 หมู่ที่ 1 ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 โดยมุ่งหวังให้สามารถส่งเสริมสนับสนุนประสานการศึกษานอกโรงเรียนทุกรูปแบบในระดับอำเภอ โดยระดมสรรพกำลัง เพื่อบริการการศึกษาที่หลากหลายให้แก่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง และตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานีมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ 7 แห่ง ดังนี้

  1. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองปทุมธานี
  2. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอคลองหลวง
  3. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอธัญบุรี
  4. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอลาดหลุมแก้ว
  5. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอลำลูกกา
  6. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสามโคก
  7. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองเสือ

        ต่อมาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานีได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี” ตามพระราชบัญญัติส่งส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยมีผลบังคับใช้ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551  และมีสถานภาพเป็นหน่วยงานทางการศึกษาว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้ชื่อย่อว่า “สำนักงาน กศน.จังหวัดปทุมธานี” สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานะเป็นหน่วยงานการศึกษามีบทบาทหน้าที่ ภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน บริหารจัดการ และกำกับดูแลสถานศึกษาในสังกัด โดยเปลี่ยนชื่อจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ มีชื่อย่อว่า “กศน.อำเภอ” จำนวน 7 แห่ง ดังนี้

  1. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปทุมธานี
  2. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองหลวง
  3. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอธัญบุรี
  4. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลาดหลุมแก้ว
  5. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลำลูกกา
  6. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสามโคก
  7. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองเสือ

   ภายหลังที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ...ในวาระ 2 และ 3 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอแล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 และ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 เผยแพร่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” (มาตรา 6) มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ โดยยกระดับจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

  1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง
  3. การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

    ในส่วนของ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี จึงเปลี่ยนเป็น "สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี" ตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 กำหนดใน (มาตรา 19) ทำหน้าที่เป็น หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด เพื่อกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก และแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ทั้งในด้านวิชาการ เทคโนโลยี ที่จำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ การบริหารงาน และการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมตลอดทั้งการจัดทำแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนการส่งเสริม การเรียนรู้ของกรม บริบทของท้องถิ่นและแผนการศึกษาแห่งชาติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดี มอบหมาย และมีสถานศึกษาในสังกัดตาม (มาตรา 20) จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย

  1. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองปทุมธานี
  2. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอคลองหลวง
  3. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอธัญบุรี
  4. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอลาดหลุมแก้ว
  5. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอลำลูกกา
  6. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสามโคก
  7. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหนองเสือ

นอกจากสถานศึกษาทั้ง 7 แห่ง สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานียังมีห้องสมุดประชาชนในความดูแล ดังนี้

  1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดปทุมธานี
  2. ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอธัญบุรี
  3. ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอลาดหลุมแก้ว
  4. ห้องสมุดประชาชนอำเภอคลองหลวง
  5. ห้องสมุดประชาชนอำเภอลำลูกกา
  6. ห้องสมุดประชาชนอำเภอสามโคก
  7. ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองเสือ


รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร

1. นายทวีศักดิ์ วิศิษฎางกูร พ.ศ.2527 – พ.ศ.2530
2. นายไพโรจน์ พาเจริญ พ.ศ.2530 – พ.ศ.2533

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี
3. นายอุฤทธิ์ บุญมาก พ.ศ.2533 – พ.ศ.2536
4. นายสาโรจน์ ลิ้มประเสริฐ พ.ศ.2536 – พ.ศ.2539
5. นายยิ่ง กีรติบูรณะ พ.ศ.2539 – พ.ศ.2540
6. นางสาวลัดดาวัลย์ เลิศเพ็ญเมธา พ.ศ.2540 – พ.ศ.2542
7. นายกิตติศักดิ์ รัตนฉายา พ.ศ.2542 – พ.ศ.2545
8. นายธงชัย เจียมพุก พ.ศ.2545 – พ.ศ.2547
9. นายอเนก เอี่ยมตาล พ.ศ.2547 – พ.ศ.2549
10. นายสาโรจน์ ลิ้มประเสริฐ พ.ศ.2549 – พ.ศ.2552

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี
1. นายสาโรจน์ ลิ้มประเสริฐ พ.ศ.2552 – พ.ศ.2555
2. นางสุรางค์ นันทกาวงศ์ พ.ศ.2555 – พ.ศ.2559
3. นางสาวกษมา โรจนนิล พ.ศ.2560 – พ.ศ.2562
4. นางวิบูลผล พร้อมมูล พ.ศ.2562 – พ.ศ.2565
5. นายณัฐพงษ์ ทองหล่อ พ.ศ.2566 - พ.ศ.2566

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี
1. นายณัฐพงษ์ ทองหล่อ พ.ศ.2566 - ปัจจุบัน

Print

We use cookies

เราใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา บางส่วนมีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของไซต์ ในขณะที่บางส่วนช่วยเราปรับปรุงไซต์นี้และประสบการณ์ของผู้ใช้ (คุกกี้ติดตาม)

คุณสามารถตัดสินใจได้เองว่า ต้องการอนุญาตคุกกี้หรือไม่ โปรดทราบว่าหากคุณปฏิเสธ คุณอาจไม่สามารถใช้ฟังก์ชันทั้งหมดของไซต์ได้