hotnews

ฺBanner

อำนาจและหน้าที่

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดปทุมธานี

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด เพื่อกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุน อำนวยความสะดวก และแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ทั้งในด้านวิชาการ เทคโนโลยี ที่จำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ การบริหารงาน และการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมตลอดทั้งการจัดทำแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัดซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของกรม บริบทของท้องถิ่นและแผนการศึกษาแห่งชาติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดี มอบหมาย

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด มีหน้าที่และอำนาจในการประสาน สนับสนุน และร่วมมือ หรือมอบหมายให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ได้

ในการจัดทำแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด ตามวรรคหนึ่งต้องรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของภาคีเครือข่ายประกอบด้วย และเมื่อจัดทำร่างแผนการส่งเสริมการเรียนรู้แล้วเสร็จให้เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบและใช้บังคับต่อไป 

พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ๒๕๖๖ | มาตรา ๑๙

 

Print

วิสัยทัศน์ 

“สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี สนับสนุน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทักษะในศตวรรษที่ 21”      

พันธกิจ

  1. จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ให้กับผู้เรียนและประชาชนทั่วไปได้รับโอกาสทางการศึกษา ในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ)การศึกษาต่อเนื่อง (การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง) การศึกษาตามอัธยาศัย (การเรียนรู้ตลอดชีวิต) ที่ มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม พร้อมก้าวสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
  2. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
  3. ส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการศึกษา การวัดและประเมินผล ที่หลากหลาย และมาตรฐานสอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้และบริบทของสถานศึกษา
  4. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการสนับสนุนจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ  
  5. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตามความต้องการของประชาชนและชุมชนในรูปแบบที่หลากหลาย
  6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ให้เป็นระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย เอื้อต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบา

เป้าประสงค์ 

  1. ผู้เรียนและประชาชนทั่วไปในจังหวัดปทุมธานี ได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับที่มีคุณภาพ
  2. บุคลากรทุกประเภททุกระดับได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
  3. หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ พัฒนาสื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา การวัดและประเมินผลในรูปแบบที่หลากหลาย
  4. ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัด ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน
  5. หน่วยงานและสถานศึกษา สามารถนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนและประชาชน พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  6. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

กลยุทธ์

  • กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกช่วงวัย
  • กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
  • กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษ ที่ 21
  • กลยุทธ์ที่ 5 ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
  • กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

Print

Print

 

 

นางสาวหลิงฟ้า ขันติรัตน์

ผู้อำนวยการ

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี

 
     
 

นายจักรพันธ์ พงศ์วรารักษ์

รองผู้อำนวยการ

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี

 
 

นางสาวนิสา ที่ดินดำ

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

 

นางสาวศิวิลัย ดวงเงิน

นักวิชาการศึกษา

 

นางสาวเยาวลักษณ์ สิงหโคตร

นักวิชาการศึกษา

นายกันต์ ก้าวพัฒนกิจ

นักจัดการงานทั่วไป

 

นายนันทวัฒน์ พารณอิสรีย์

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

นางสาวอุมารินทร์ รอดสุขโข

นักวิชาการศึกษา

 

นายสรุจภาคย์ เธียรมังคลาสิน

นายสรุจภาคย์ เธียรมังคลาสิน

นักวิชาการศึกษา 

นางสาวศิริลดา โมลาศน์

นักวิชาการพัสดุ

 

นางสาวสุทธิดา สุวรรณโรจน์

นักวิชาการเงินและบัญชี

อาคม อำพันเพ็ญโรจน์

นายอาคม อำพันเพ็ญโรจน์

นักเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

นางสาวมนทิยา รื่นสุข

นางสาวมนทิยา รื่นสุข

นักทรัพยากรบุคคล

 

นางสาววรางคณา ศรีตะโกเศศ

เจ้าพนักงานพัสดุ

 

นายพงษ์นรินทร์ จันทร์เทพ

นักวิชาการตรวจสอบภายใน 

 นางสาวกัญชพร ยิ้มใย

นางสาวกัญชพร ยิ้มใย

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

 

นางสาวนพรัตน์ อินทนิล

เจ้าพนักงานธุรการ

นายจักรภพ ปลีพุ่ม

นิติกร

   
     

Print

   

 

   
    นายธนากร ดอนเหนือ    
    อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้    
         
   
นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล   นายเอกราช ชวีวัฒน์   นางสาวยุพิน บัวคอม

 รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 

 

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

 

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

Print

We use cookies

เราใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา บางส่วนมีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของไซต์ ในขณะที่บางส่วนช่วยเราปรับปรุงไซต์นี้และประสบการณ์ของผู้ใช้ (คุกกี้ติดตาม)

คุณสามารถตัดสินใจได้เองว่า ต้องการอนุญาตคุกกี้หรือไม่ โปรดทราบว่าหากคุณปฏิเสธ คุณอาจไม่สามารถใช้ฟังก์ชันทั้งหมดของไซต์ได้